Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thecode1/public_html/childsafetourism.org/wp-content/plugins/seo-ultimate/modules/class.su-module.php on line 1195

Warning: Declaration of Menu_With_Description::start_el(&$output, $item, $depth, $args) should be compatible with Walker_Nav_Menu::start_el(&$output, $item, $depth = 0, $args = NULL, $id = 0) in /home/thecode1/public_html/childsafetourism.org/wp-content/themes/childsafe_v2/functions.php on line 665
News @th | Child Safe Tourism

Child Safe Tourism

January 6, 2015

ศุภนิมิตส่งมอบงาน “การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก”ให้เดอะโค้ด

งานรณรงค์ด้านการท่องเที่ยวได้เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2555 โดยเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย ซึ่งได้ริเริ่มโดยรัฐบาลออสเตรเลียและดำเนินการโดยศุภนิมิตเพื่อป้องกันการทารุณกรรมทางเพศเด็กในธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทยและเวียดนาม เมื่อโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยปิดโครงการลงในเดือนกรกฎาคม 2557 แต่ศุภนิมิตยังติดตามเพื่อให้มั่นใจว่างานรณรงค์ด้านการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กจะมีความยั่งยืนต่อไป ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ศุภนิมิตและเดอะโค้ด ศุภนิมิตได้ตกลงที่จะส่งมอบงานความเป็นเจ้าของงานรณรงค์การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กให้แก่เดอะโค้ด   เดอะโค้ดเกิดขึ้นมาจากดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยทำงานกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อป้องกันการทารุณกรรมทางเพศเด็กในการเดินทางท่องเที่ยวและในธุรกิจการท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2539 เดอะโค้ดได้ทำงานร่วมกับธุรกิจการเดินทางท่องเที่ยวระดับโลกเพื่อช่วยปรับปรุงนโยบายและการปฏิบัติงานของธุรกิจให้มีความรับผิดชอบ งานรณรงค์ด้านการท่องเที่ยวต้องการที่จะให้ข้อมูลและความรู้แก่นักท่องเที่ยว เรื่องการปฎิบัติตัวอย่างง่ายๆที่จะช่วยกันลดความเสี่ยงให้แก่เด็กและเยาวชนที่ทำงานและอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้งานรณรงค์สามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า 15 ล้านคนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ “ในขณะที่การท่องเที่ยวของโลกกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นที่จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงประโยชน์จากเด็ก” กล่าวโดย อัลเบิร์ต ยู ผู้อำนวยการด้านการสื่อสาร สำนักงานศุภนิมิตเอเซียตะวันออก  แมทเทียส เลซิงเจอร์ ประธานเดอะโค้ด ได้กล่าวแสดงความรู้สึกตื่นเต้นกับการส่งมอบภารกิจนี้ว่า “เดอะโค้ดรู้สึกดีใจที่ได้เข้ามารับดูแลงานรรณรงค์เรื่องการเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเราไม่สามารถที่จะรอต่อไปได้อีกแล้ว งานระดับต่อไป โปรดช่วยพวกเราในพันธกิจการกำจัดการแสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กในธุรกิจท่องเที่ยว”

Read more
October 13, 2014

ปกป้องให้เด็กๆปลอดภัยบนโลกออนไลน์

การแสวงประโยชน์ทางเพศเด็กและศูนย์คุ้มครองเด็กออนไลน์  เทคโนโลยีดิจิตอลสำคัญสำหรับเด็กและเยาวชน พวกเขาใช้มันในการเรียนรู้ เล่น พูดคุยกับเพื่อนๆและแสดงออกทางความคิดในวิธีสร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันรูปภาพ วีดีโอ บล้อค เล่นเกมส์หรือแม้กระทั่งทำโปรแกรมด้วยตัวเอง โลกออนไลน์จึงเป็นสถานที่ๆเต็มไปด้วยโอกาสดีๆ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีดิจิตอลก็นำความเสี่ยงมาสู่เด็กได้เช่นกัน มีการเชื่อมโยงกันระหว่างการทารุณกรรมเด็กในบริบทท่องเที่ยวและเทคโนโลยีดิจิตอล ผู้ทารุณกรรมทางเพศเด็กมักที่จะใช้มันในการเข้าไปล่อลวงเด็กๆเพื่อการทารุณกรรมทางเพศ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการลดความเสี่ยงต่อเด็กและช่วยให้พวกเขาปลอดภัยได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กจะต้องเข้าใจว่าเด็กกำลังทำอะไรบนโลกออนไลน์และพูดคุยกับเขาถึงความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เคล็ดลับที่ดีสุดสำหรับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 1. สอบถามดูเว้บไซด์ที่เด็กเข้าเยี่ยมชม – การทำเช่นนี้คุณสามารถรู้ว่าเด็กกำลังทำอะไรอยู่และกิจกรรมหลักของเขามีอะไรบ้าง และโดยการจดบันทึกชื่อเว้บต่างๆที่เด็กเข้าชม คุณสามารทกลับเข้าไปตรวจสอบได้เวลาเด็กไม่อยู่ และเรียนรู้การตั้งค่าให้ปลอดภัยและเรียนรู้วิธีในการรายงานแก่ผู้สร้างเว้บไซด์โดยตรง 2. แน่ใจว่าโปรไฟล์ของเด็กได้ถูกตั้งค่าใว้เป็นส่วนตัว – เครือข่ายทางสังคมออนไลน์อย่างเช่น เฟสบุ้ก อินสตาแกรมและยูทูบจะถูกใช้โดยเด็กๆในการแบ่งปันข้อมูล รุปภาพและทุกๆอย่างที่พวกเขาทำ ควรที่จะส่งเสริมตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไปที่ไพรแวท เพื่อที่จะให้เฉพาะเพื่อนๆเท่านั้นที่สามารถเห็นเนื้อหา ( เพื่อนเหล่านี้ควรเป็นเพื่อนที่เขารู้จักจริงๆและคนที่เขาใว้ใจในโลกความเป็นจริง) พวกเขาควรที่จะคิดถึงข้อมูลที่ใส่บนโลกออนไลน์ เพราะว่ามันสามารถที่จะถูกนำไปโพสต์ใหม่โดยที่เจ้าของกระทู้ไม่ได้อนุญาต ถ้าเกิดข้อมูลนี้ตกไปอยู่กับผู้ที่ไม่หวังดี ก็อาจเกิดความเสี่ยงในโลกความจริงได้ เพราะว่าพวกเขาอาจนำไปหาที่อยู่จริงของเด็กได้ 3. ถามเด็กเกี่ยวกับเพื่อนบนโลกออนไลน์ – เรารู้ว่าบางคนโกหกบนโลกออนไลน์และบางครั้งพวกเขาก็สร้างสถานะที่ไม่เป็นจริง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เด็กควรจะเข้าใจในสิ่งนี้ เด็กและเยาวชนไม่ควรจะให้ข้อมูลส่วนตัวให้กับบุคคลอื่นนอกเหนือจากเพื่อนที่เขารู้จักในโลกความเป็นจริง คุณควรพูดคุยถึงวิธีที่ทำให้เด็กปลอดภัยบนโลกออนไลน์ และถ้าเกิดเขาจะไปเจอใครจริงๆก็ควรพาเพื่อนที่เขารู้จักไปด้วยและบอกพ่อแม่ว่าจะไปไหน     4. ตั้งค่าควบคุมของผู้ปกครองบนคอมพิวเตอร์ของลูกคุณ รวมถึงโทรศัพท์และเครื่องเล่นเกมส์ – การตั้งค่านี้สามารถป้องกันเด็กจากการดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและอาจจะผิดกฏหมาย คุณสามารถที่จะปรับค่าเหล่านี้ตามอายุและความสามารถของเด็ก คุณยังสามารถตั้งค่าเพื่อป้องกันเด็กเล่นเกมส์หรืออินเตอร์เน็ตนานเกินไป การตั้งค่าเหล่านี้ไม่มีค่าใช้จ่ายและคุณสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเอง หรือคุณสามารถโทรหาบริษัทผู้ให้บริการเพื่อที่จะช่วยคุณหรือเข้าไปในเว็บไซด์ CEOP’s ในหน้าหลักอค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม  5. คุยกับลูกของคุณเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลและความเสี่ยงออนไลน์ – ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กจะพบกับสถานการณ์ที่เขารู้สึกไม่สบายใจหรือบางอย่างที่เขาไม่อยากที่จะเห็น โดยการพูดคุยกับเขาในเรื่องความเสี่ยงนี้จะทำให้เด็กคุยกับคุยมากขึ้นหากเขาพบเห็นสิ่งใดที่ทำให้เกิดความกังวล  6. รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหนหากคุณกังวลเกี่ยวกับลูกของคุณ – ในสถานการณ์ฉุกเฉินกรุณาติดต่อตำรวจท้องที่ของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและวิธีการช่วยให้เด็กปลอดภัยบนโลอออนไลน์ …

Read more
August 14, 2014

เด็กๆจะเป็นอย่างไร

ความเห็นจากผู้เข้าเยี่ยม – Willem Niemeijer, ผู้ค้นพบและประธานของ Khiri Travel อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใด้สร้างงานสำหรับประชากร 1/11 คนต่อประชากรทั้งหมดทั่วโลก จากรายงานที่จัดทำโดย WTTC (การท่องเที่ยวและผลกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว 2557) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสร้างงานมากที่สุดเป็นอันดับสองรองมาจากการว่าจ้างงานด้านการศึกษา ซึ่งจ้างงานบุคลากรมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกโดยตรง และประมาน 265 ล้านคนโดยอ้อม และเป็นอุตสาหกรรมพิเศษที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่รู้จักกับบุคลากรเหล่านี้โดยตรง บุคลากรและธุรกิจเหล่านี้ยังมีอำนาจในการประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นจากสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ตัวแทนทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนมีโอกาสมากมายในการติดต่อกับคนในทุกระดับ สิ่งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนสามารถร่วมมือกันในการเผชิญกับปัญหาการแสวงประโยชน์และการทารุณกรรมเด็ก  แผนงานได้ถูกเตรียมใว้แล้วโดยองค์กรพัฒนาเอกชนอย่างเช่นองค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นเนล เครือข่ายเด็กปลอดภัยและศุภนิมิต องค์กรเหล่านี้มีประสบการณ์หลายปีในการทำงานกับเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหา พวกเขารู้ว่ามันยากที่จะขจัดวงจรปัญหาความยากจนที่บังคับให้เด็กต้องไปขายดอกไม้ ของชำร่วยหรือขอทานบนท้องถนน และเด็กกลุ่มนี้ก็เลือกใช้ชีวิตแบบนี้มากกว่าการไปโรงเรียนและใช้ชีวิตเด็กโดยอิสระและขาดผู้ดูแล  ส่วนใหญ่แล้วงานจะเริ่มด้วยการสร้างความตระหนักในด้านการอบรมและการให้ข้อมูลเป็นหลัก บริษัท Khiri Travel ร่วมมือกับศุภนิมิตได้เกิดขึ้นชัดเจนและเป็นแรงบันดาลใจ เราได้นำหลักสูตรอบรมใว้ในคู่มือและการอบรมเจ้าหน้าที่ในบริษัทเป้นระยะๆ รวมถึงการจัดทำเอกสารแผ่นพับสำหรับแขกในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารการประชุมและเวทีสนทนาต่างๆของเรา สิ่งนี้เป็นเพียงก้าวแรกของเราในความมุ่งมั่นในเรื่องการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เราตั้งเป้าหมายที่จะขยายการสนับสนุนเพิ่มแก่องค์กรทางสังคมอื่นๆที่ช่วยเหลือกลุ่มเด็กที่เปราะบางในการอบรมหรือการสร้างงานให้พวกเขาในภาคธุรกิจท่องเที่ยว เราขอเชิญชวนท่านให้การสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมผ่านแผนกงานด้านการกุศลชอง Khiri Reach (ซึ่งเงินบริจาคของคุณทั้งหมดจะถูกนำไปให้องค์กรพัฒนาโดยตรง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทธุรกิจและนักท่องเที่ยวที่เยี่ยมสถานที่ๆเสี่ยงสามารถที่จะช่วยเหลือชุมชนเหล่านี้มากกว่าการเยี่ยมชมเฉยๆเพราะว่าการป้องกันเด็กคือหน้าที่ของเราทุกคน 

Read more
July 31, 2014

อำลาจากโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย

หลังจากที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 34 เดือน โครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยก็ได้สิ้นสุดลง โครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยเป็นโครงการริเริ่มโดยรัฐบาลออสเตรเลียในการป้องกันเด็กจากการทารุณกรรมทางเพศในธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม โครงการได้สิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2557  เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่เข้ามาในภูมิภาค ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเด็กไปพร้อมๆกัน คุณสามารถเรียนรู้ความเชื่อโยงระหว่างการท่องเที่ยวและการแสวงประโยชน์เด็กได้ที่นี่ ในช่วงเวลายี่สิบปีที่ผ่านมาได้มีการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาการแสวงประโยชน์เด็กในธุรกิจท่องเที่ยว และโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยก็ได้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องในระดับใหม่  ในการประสานงานร่วมกับองค์กรร่วมพันธกิจต่างๆ เจ้าหน้าที่ 16 คนของโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย: ได้พัฒนาเละจัดทำกี่ยวกับการรณรงค์การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ที่ได้ประชาสัมพันธ์สู่ผู้คนมากกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงวิธีง่ายๆที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อให้การท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเด็ก  ได้ให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมากกว่า 13,000 คนในประเทศกัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนามเกี่ยวกับสิทธิในการป้องกันตนเองจากอันตราย วิธีการป้องกันตัวเอง การสัมผัสทีไม่ปลอดภัย และวิธีการปฎิบัติเมื่อประสบกับสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจหรือการทารุณกรรม  ได้มีเวทีการสนทนาแก่พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กและผู้แทนชุมชนมากกว่า 8000 คน ( เช่น ครู นักสังคมสงเคราะห์ ผู้นำในหมู่บ้าน ) ในประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม โดยมีเนื้อหาที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงความเสี่ยงของการทารุณกรรมทางเพศเด็กและบทบาทการป้องกันและการตอบสนองเมื่อมีกรณีเกิดขึ้น ได้เข้าถึงเด็กและผู้ใหญ่มากกว่า 20,000 คนผ่านเครือข่ายเยาวชนในประเทศกัมพูชา และได้มีงานเกี่ยวกับสื่อการบันเทิงศึกษาในประเทศเวียดนามเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันการทารุณกรรมทางเพศเด็ก  ได้สนับสนุนสายด่วนช่วยเหลือเด็กในประเทศกัมพูชาและเวียดนามในการช่วยเหลือเด็กนับพันคนให้เข้าถึงข้อมูลความลับและข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้ความช่วยเหลือที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ  ได้ฝึกอบรมแก่บุคลากรกว่า 2400 …

Read more
June 4, 2014

ความเข้าใจที่จำกัดเรื่องการแสวงประโยชน์ทางเพศเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เด็กอยู่ในความเสี่ยง

กรุงเทพฯ ประเทศไทย  จากรายงานฉบับใหม่เรื่อง เพศ การทารุณกรรม และวัยเด็กค้นพบว่าผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนามมีความเข้าใจทางด้านการทารุณกรรมเด็กทางเพศและการป้องกันที่ค่อนข้างจำกัด งานวิจัยนี้ได้รวบรวมการเรียนรู้ ทัศนคติและรูปแบบการแก้ไขปัญหาของการทารุณกรรมทางเพศเด็ก รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องในการท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม  รายงานนี้ถูกเผยแพร่วันนี้โดยโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย พบว่าเด็กและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจค่อนข้างแคบมากมองว่าการทารุณกรรมทางเพศคือการข่มขืนทางเพศเด็กหญิง ส่วนพฤษติกรรมทางเพศที่ทารุณอื่นๆอย่างเช่นการสัมผัสที่ไม่เหมาะสมหรือการเกี่ยวข้องกับสื่ออนาจารไม่ได้ยอมรับว่าเป็นปัญหา รวมถึงการทารุณกรรมทางเพศเด็กชายเช่นกัน “ความเข้าใจในเรื่องการทางรุณกรรมทางเพศที่จำกัดของเด็กและผู้ใหญ่หมายความว่าเหตุการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครรู้เห็น” อาร์ติ คาปูร์ ผู้จัดการโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยกล่าว “พวกเราทราบว่าการทารุณกรรมทางเพศเด็กมักเริ่มจากการล่อลวงเด็กๆ การพูดคุยในเรื่องที่ไม่เหมาะสมและสัมผัสที่ไม่เหมาะสมไปสู่การทารุณกรรมที่รุณแรงขึ้นเรื่อยๆเมื่อระยะเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่แล้วครอบครัวของเด็กที่ถูกทารุณกรรมจะรูจักผู้ทารุณกรรมดี อย่างไรก็ตามจากคนที่เราได้พูดคุยด้วย ยังมีน้อยคนที่เข้าใจในปัญหานี้” งานวิจัยที่ได้เผยแพร่ในวันนี้ได้สัมภาษณ์เด็กและผู้ใหญ่กว่า 600 คนในประเทศไทย เวียดนาม ลาวและกัมพูชา เพื่อที่จะให้ตรงกับวันเด็กที่เป็นเหยื่อความรุนแรงสากล  จากทุกกลุ่มที่ให้สัมภาษณ์ ผู้ปกครองมีระดับความเข้าใจต่ำที่สุดในปัญหาการทารุณกรรมทางเพศเด็ก “ความไม่ตระหนักต่อการทารุณกรรมทางเพศเด็กหมายความว่าผู้ปกครองจะไม่รู้ว่าความเสี่ยงคืออะไรและก็จะไม่สามารถรู้ว่าเด็กกำลังถูกทารุณอยู่หรือไม่ “อฟรูซ คาวิอานิ จอนสัน ผู้อำนวยการด้านวิชาการ โครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยกล่าว “ผู้ปกครองอาจจะพลาดโอกาสที่จะช่วยเหลือเด็กและความไม่เข้าใจสามารถส่งผลกระทบโดยรวมต่อการตอบสนองความต้องการของเด็กได้“ รายงานได้แนะนำให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมทางเพศเด็กแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก เด็กและผู้แทนชุมขน “เรารู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าการป้องกันการทารุณกรรมทางเพศเด็กเป็นกลไกที่สำคัญในการเฝ้าระวังการทารุณกรรมในชุมชนที่เปราะบาง” อาร์ติ คาปูร์กล่าว “เด็กและผู้ใหญ่ต้องการข้อมูล ทักษะและกลยุทธ์ในการป้องกันเด็กจากการทารุณกรรมทางเพศทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทารุณกรรมจากคนแปลกหน้า จากชาวต่างชาติ จากคนที่รู้จักในชุมชน จากเพื่อนหรือญาติก็ตาม”  อ่านรายงานเต็ม

Read more
May 16, 2014

องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและศุภนิมิตร่วมมือกันต่อสู้การแสวงประโยชน์เด็กในบริบทท่องเที่ยว

แมดริด สเปน-15 พฤษภาคม 2557 ในขณะที่การท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับการแสวงประโชน์จากเด็ก ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและสำนักงานศุภนิมิตภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้เซ็นสัญญาเพื่อร่วมมือกันในการต่อสู้กับการแสวงประโบชน์เด็กในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว (17 เมษายน 2557) การประสานความร่วมมือระหว่างองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติกับศุภนิมิตรวมทั้งการสนับสนุนเครื่องมือการปฏบัติที่ดี และกรณีศึกษาที่สนับสนุนการป้องกันเด็กในการท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งนี้รวมถึงการรณรงค์ท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กของศุภนิมิตที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในประเทศกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามเพื่อที่จะแนะนำนักท่องเที่ยวถึงวิธีที่พวกเขาสามารถช่วยกันปกป้องเด็กๆจากการทารุณกรรมในสถานที่ท่องเที่ยว การรณรงค์นี้คือส่วนหนึ่งของโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยรัฐบาลออสเตรเลียที่จะต่อสู้กับการแสวงประโยชน์ทางเพศเด็กในธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติได้ทำงานในด้านนี้ผ่านเครือข่ายการท่องเที่ยวโลกเกี่ยวกับการป้องกันเด็ก (เดิมคือหน่วยพิเศษพิทักษ์เด็กในการท่องเที่ยว) มานานกว่า 15 ปี โครงการนี้ได้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อการป้องกันการแสวงประโยชน์เด็กและเยาวชนในธุรกิจท่องเที่ยวจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบ โดยโครงการนี้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมนโยบายที่รับผิดชอบและการปฎิบัติที่ดีของธุรกิจที่ดำเนินการบนหลักเกณฑ์จริยธรรมการท่องเที่ยวขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ   “การเติบโตของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวใด้นำโอกาสการพัฒนาที่สำคัญ แต่ก็มีข้อท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงของสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และก็มีความจำเป็นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจท่องเที่ยวทุกภาคส่วนจะต้องทำงานร่วมกันในการต่อสู้กับปัญหาการแสวงประโยชน์เด็ก ที่ผ่านมาศุภนิมิตได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในการเป็นหุ้นส่วนกับเครือข่ายองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติในการป้องกันเด็ก และพวกเราก็ดีใจสามารถร่วมเป็นหนึ่งในการต่อสู้กับการแสวงประโยชน์เด็กที่น่าขยะแขยง” นาย ทาเล็บ รีฟาย เลขาธิการ องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติกล่าว  “ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศุภนิมิตมีหลายโครงการที่ทุมเทในการลดความเสี่ยงเด็กจากการทารุณกรรม แสวงประโยชน์และการค้ามนุษย์ รวมถึงในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวด้วย การท่องเที่ยวได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้และนำโอกาสมากมายสู่ภูมิภาคแต่ก็นำความเสี่ยงมาสู่เด็กพอสมควรด้วยเช่นกัน ประเด็นนี้เป็นสาเหตุที่พวกเรายินดีที่จะร่วมมือกันกับองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติเพื่อที่จะหาแนวทางที่ยั่งยืนร่วมกันสู่การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก” ผู้อำนวยการด้านพันธกิจบูรณาการของสำนักงานเอเชียตะวันออกศุภนิมิต นาย วาเร็น คลิเมฮากา กล่าว

Read more
February 14, 2014

การเดินทางสู่การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

ความเห็นจากผู้เข้าเยี่ยม – Aarti Kapoor, Program Manager of Project Childhood Prevention Pillar คุณรู้จักสถานการณ์ดี เวลาคุณไปยังสถานที่ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านในชนบทหรือแหล่งท่องเที่ยวในเมืองที่แออัดแล้วคุณก็เห็นเด็ก เด็กกลุ่มนี้ก็เข้ามาหาคุณอย่างมั่นใจ บางครั้งพวกเขาก็มาเป็นกลุ่มเพื่อที่จะขายหมากฝรั่งหรือผลไม้ หรือบางครั้งก็ถือเพียงขันเพื่อที่มาขอเหรียญจากคุณ มันเป็นปฏิบทที่คุณจะต้องเห็นการยืนหยัดและความยากจนในเวลาเดียวกัน มันยากมากที่คุณจะรู้วิธีตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน หลายๆครั้งฉันเองก็เจอกับสถานการณ์แบบนี้หลายครั้งเช่นกัน โครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยดำเนินงานบนมารตาฐานการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเพื่อที่จะป้องกันเด็กจากการแสวงประโยชน์ทางเพศในบริบทการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผู้จัดการโครงการ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสทำงานเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของเด็กๆ การเดินทางบนพื้นฐานการเดินทางที่ปลอดภัยสำหรับเด็กของดิฉันได้รวมความต้องการในการเดินทางส่วนตัวและความรู้ของดิฉันเกี่ยวกับการป้องกันเด็ก สิ่งต่อไปนี้คือหนึ่งในสิ่งที่ดิฉันพบเห็นบนเส้นทางนี้  เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในขณะที่กำลังเดินทางในเอเชีย ดิฉันและเพื่อนร่วมเดินทางตัดสินใจที่จะขี้นไปนั่งบนหลังอูฐและนอนพักคืนบนทะเลทราย เพื่อที่จะไปพบปะกับคนท้องถิ่นในวันรุ่งขึ้น คนนำทัวร์ได้แนะนำให่เราเอาขนมหวานไปให้เด็กท้องถิ่น แต่เราเลี่ยงและจะให้ของเล่นเด็กแทนเพราะคิดว่ามันไม่ดีสำหรับฟันของพวกเขา  เราได้เดินทางพร้อมกับเจ้าหน้าที่ทัวร์อีกสองคนและอูฐของพวกเขา หลังจากเดินทางไปได้สองสามชั่วโมงเราก็ได้เห็นกระท่อมหลายหลังที่อยู่รอบกระท่อมที่ดูใหญ่ ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่หมู่บ้านนั้นก็มีเด็กๆกลุ่มหนึ่งวิ่งออกมาหาเรา เด็กๆวิ่งเข้ามาหาเราอย่างตื่นเต้นและจับมือเราและเริ่มที่จะสัมผัสเสื้อผ้าของพวกเราในขณะที่มองดูพวกเราอย่างสงสัย ฉันเริ่มรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวที่เด็กๆทำเช่นนี้ พยายามที่จะเรียกร้องความสนใจจากเรา มีเด็กหลายคนมากที่พวกเขารอบเราเต็มไปหมด ทันใดนั้นเด็กก็เริ่มค้นตัวพวกเรา เด็กคนหนึ่งล้วงมือเข้าไปในกระเป๋าของงฉัน ในขณะที่อีกคนล้วงมือไปในสร้อยข้อมือของฉัน และอีกคนก็ดึงกางเกงฉันขึ้นมาและจับสร้อยข้อเท้าที่ฉันเพิ่งซื้อมาในเมือง และไม่นานเด็กๆก็พยายามขอเงินจากพวกเรา และขอสร้อยข้อมือและสร้อยข้อเท้าของพวกเรา มีผู้หญิงในหมู่บ้านรีบวิ่งเข้ามา เราคิดว่าจะเข้ามาช่วยพาเด็กๆออกไป แต่พวกเขากลับสนับสนุนให้เด็กๆพยายามขอเงินจากพวกเราต่อไป สิ่งนี้ทำให้ฉันรู้สึกครอบงำ  สิ่งนี้ทำให้ฉันคิดว่ามีนักท่องเที่ยวมากมายมาที่หมู่บ้านนี้และเด็กพวกนี้ก็ได้รับผลกระทบโดยตรง เด็กๆและคนในหมู่บ้านเห็นนักท่องเที่ยวเป็นผู้ให้ของขวัญไม่ว่าจะเป็นเงิน สร้อยประดับ หรือสิ่งของอื่นๆก็ตาม  เราเริ่มรู้สึกอึดอัดกับสถานการณ์นี้ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เราจึงมอบถุงของเล่นไปให้ผู้นำทัวร์ของเราคนหนึ่งและคิดว่าเขาจะช่วยดูแลให้เด็กๆได้ ทันใดนั้นเด็กก็รีบวิ่งเข้ามาเอาถุงจากมือของผู้นำทัวร์ มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาแย่งทั้งถุง …

Read more
January 8, 2014

การทำงานเพื่อปกป้องเด็กที่พิการ

ความเห็นจากผู้เข้าเยี่ยม – Laurie Ahern, ประธาน Disability Rights International มีเด็กประมาณ 8-10 ล้านคนพักอาศัยอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กที่เกิดมาพิการเป็นส่วนที่เปราะบางที่จะถูกลืม ในบางประเทศหมอสนับสนุนให้พ่อแม่ทิ้งลูกที่พิการ และในบางประเทศเด็กที่พิการถูกมองว่าเป็นคำสาปหรือการลงโทษต่อครอบครัว แต่ในหลายๆกริณี ครอบครัวจะดูแลเด็กเหล่านี้ได้ถ้ามีการสนับสนุนเพียงพอ ประมาน 95% ของเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กมีพ่อหรือแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างน้อยหนึ่งคนหรือมีญาติที่รู้จัก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นความพิการ ความยากจน และการกีดกันทางสังคมที่ส่งเด็กส่วนใหญ่กลุ่มนี้ไปยังสถานเลี้ยงเด็ก ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา องค์การ Disability Rights International (DRI) ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเด็กพิการเหล่านี้ที่ถูกบังคับให้ทนอยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก เด็กไม่ควรจะเติบโตในสถานเลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะเป็นที่ๆอันตรายสำหรับเด็กพิการ เด็กและเยาวชนที่พิการมีโอกาสเสี่ยงต่อการทารุณกรรมมากกว่าเด็กปกติ เมื่อเด็กกลุ่มนี้ถูกแยกออกจากการดูแลของครอบครัวมายังสถานเลี้ยงเด็กที่มีผู้ดูแลหลายคนพวกเขาจะมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆต่อการทารุณกรรมและแสวงประโยชน์ เด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กที่ถูกค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณี การค้าอวัยวะและการค้าแรงงาน และในประเทศที่คิดว่าเด็กบริสุทธ์เป็นยารักษาโรคเอดส์ ผู้ญิงและเด็กหญิงพิการมีโอกาสที่จะถูกข่มขืนซ้ำมากกว่าคนปกติถึงสามเท่า อาจเนื่องจากข้อสมมุติฐานที่ว่าพวกเขามคความพิการพวกเขาเป็นผู้บริสุทธ์ เพราะฉะนั้นเด็กพิการจึงเป็นเป้าหมายที่ง่ายของผู้ทารุณกรรมทางเพศ ส่วนใหญ่แล้วเด็กกลุ่มนี้มีข้อด้อยจากการคุ้มครองเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้พิการเนื่องจากจะไม่มีตำรวจเชื่อในสิ่งที่บอกหรือถูกมองว่าสิ่งที่พวกเขาพูดไม่มีความสำคัญเนื่องจากความพิการของพวกเขา  บริษัททัวร์หลายแห่งในประเทศที่กำลังพัฒนามีโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาให้นักท่องเที่ยวในสถานเลี้ยงเด็ก ส่วนใหญ่แล้วอาสาสมัครเหล่านี้ไม่ได้ถูกตรวจสอบประวัติมาก่อนและการติดต่อกับเด็กในสถานเลี้ยงเด็กจะไม่มีการควบคุมโดยผู้ดูแล สิ่งนี้ทำให้การเข้าถึงกลุ่มเด็กเปราะบางนั้นง่ายขึ้น องค์การ DRI ยังค้นพบว่ามีเด็กและวัยรุ่นพิการที่มีข้อบกพร่องทางด้านการพัฒนาได้หายตัวไปจากบ้านพักและถูกบังคับให้ใช้แรงงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและเอื้อต่อการแสวงประโยชน์ในบ้านของเจ้าหน้าที่สถานเลี้ยงเด็ก    ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่ที่ต้องการที่จะดูแลลูกที่พิการจะไม่ได้รับการสนับสนุนหรือการช่วยเหลือใดๆ และถึงแม้ว่ามีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าสถานเลี้ยงเด็กอันตรายต่อการพัฒนาและความเป็นอยู่ของเด็ก ก็ยังมีการใช้งบประมานนับล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างสถานเลี้ยงเด็กพิการทั่วโลก แทนที่จะไปสนับสนุนครอบครัวของเด็ก การบริการชุมชนและการศึกษาแทน จากการรณรงค์ทั่งโลกเพื่ออยุดการเลี้ยงเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก องค์การ DRI ได้พยายามที่จะหาเสียงสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ทั่วโลกที่จะยุติการรับเลี้ยงเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก กรุณาคิดให้รอบครอบก่อนจะอาสาสมัครหรือไปเยี่ยมเด็กๆในสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ควรมองหาโอกาสที่จะสนับสนุนครอบครัวและชุมชนที่สามารถดูแลเด็กแทน ท่านสามารหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอันตรายของการเลี้ยงเด็กในสถานเลี้ยงเด็กและผลกระทบของการท่องเที่ยวสถานเลี้ยงเด็กต่อเด็กได้ที่นี่

Read more
December 5, 2013

วันอาสาสมัครนานาชาติ: การท่องเที่ยวเชิงอาสาช่วยหรือทำร้ายเด็ก

ความเห็นจากผู้เข้าเยี่ยม – Daniela Papi, ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งหนึ่ง ฉันรู้สึกว่าฉันต้องอดทนต่อข่าวร้าย ระหว่างการตอบคำถามของฉันในรายการ Tedx ที่ฉันได้คุยเกี่ยวกับปัญหานี้กับการท่องเที่ยวเชิงอาสา และสิ่งที่ฉันได้เขียนก่อนหน้านี้ ฉันต้องการที่จะเริ่มว่า ฉันไม่คิดว่าการอาสาสมัครเป็นสิ่งที่เลวร้าย ฉันไม่คิดว่าการท่องเที่ยวเชิงอาสาเป็นสิ่งที่แย่ และฉันก็ไม่คิดว่าบริษัทที่มีโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอาสานั้นแย่เช่นกัน ที่จริงแล้วฉันเองก็เคยทำสิ่งเหล่านี้มาหมดแล้ว : การเดินทางเป็นอาสาสมัครรอบโลกและก่อตั้งบริษัทท่องเที่ยวเชิงอาสาขึ้นมา ซึ่งสุดท้ายจะก็ปรับบริษัทให้เป็นบริษัทพัฒนาด้านการศึกษาและสนับสนุนการสมัครงานของเด็กฝึกงานเชิงอาสาต่อไปในโครงการที่ฉันทำงานด้วย  ถึงแม้ว่าฉันไม่คิดว่าการอาสาสมัครเป็นสิ่งที่เลวร้าย สิ่งที่ฉันคิดอาจเป็นสิ่งเลวร้าย นั่นก็คือการที่คนหลายคนก่อตั้งบริษัทท่องเที่ยวเชิงอาสา หรือจัดโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงอาสาขึ้นมา เพราะว่าการกระทำที่เลวร้ายต่างๆจะเกี่ยวข้องกับการทำให้เด็กให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย  ประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กเรื่องใหญ่ประเด็นหนึ่งได้มีการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวเชิงอาสา นั่นก็คือการเติบโตของการท่องเที่ยวสถานเลี้ยงเด็ก หรือการท่องเที่ยวเชิงอาสาในสถานเลี้ยงเด็ก สำหรับคนที่ยังไม่เคยเที่ยวประเทศกัมพูชา กานา เนปาล หรือยูกันดา มาก่อนคุณอาจะต่อต้านเมื่อได้ยินคำว่า การท่องเที่ยวสถานลี้ยงเด็ก ใครกันสามารถปล่อยให้เด็กกำพร้าเป็นจุดอยุดพักชมของนักท่องเที่ยวได้ แต่สำหรับคนที่เคยเดินทางไปเป็นอาสาสมัครช่วงวันอยุดยังประเทศเหล่านี้ ในทุกวันนี้ การแพร่หลายของการท่องเที่ยวสถานเลี้ยงเด็กได้กลับกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบ  โดยธรรมชาติแล้วการพานักท่องเที่ยวหรืออาสาสมัครระยะสั้นๆที่ยังไม่ได้ผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้มาที่บ้านของเด็กที่เปราะบาง ไม่ว่าจะไม่กี่ชั่วโมง ไม่กีวัน หรือไม่กี่เดือนก็ตามสามารถที่จะนำไปสู่ปัญหามากมายต่อไปนี้:  แยกเด็กออกจากครอบครับของพวกเขา – องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติได้เสนอรายงานเปิดเผยข้อมูลว่ามีเด็กจำนวนมากในสถานเลี้ยงเด็กที่ยังมีผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน ในประเทศกัมพูชามีประมาณว่าเด็ก 76% ที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กมีผู้ปกครองอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีชีวิตอยู่ ถึงแม้ว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กจะกล่าวว่าเด็กไม่ควรที่จะถูกพรากออกจากผู้ปกครองและการเลี้ยงดูเด็กโดยผู้ปกครองถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแต่ ก็ยังมีพ่อแม่เด็กที่สนับสนุนให้เด็กไปอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กเพราะเชื่อว่าเด็กจะได้รับโอกาสที่ดีกว่า ปัญหาการผูกพันธ์ของเด็ก – ความไม่สม่ำเสมอของความผูกพันธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าเยี่ยมเด็กและอาสาสมัครสามรถส่งผลกระทบระยะยาวต่อเด็กได้ เพราะว่าเด็กๆจะคิดว่าพวกเขากำลังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เข้าเยี่ยมอยู่  คอร์รัปชั่น – ได้มีรายงานว่าสถานเลี้ยงเด็กบางแห่งดำเนินงานเป็นธุรกิจที่หวังผลตอบแทนเจ้าของสถานเลี้ยงเด็กบางแห่งก็ปล่อยให้สถานเลี้ยงเด็กคงสภาพเดิมเพื่อหาเงินบริจาคเพิ่มมากขึ้น  การแสวงประโยชน์จากเด็ก – เด็กถูกกระทำเหมือนเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว บ่อยครั้งที่เด็กๆถูกนำออกมาจากโรงเรียนเพื่อมาให้ถ่ายรูปหรือแสดงละเล่นต่างๆให้นักท่องเที่ยว เด็กบางคนยังถูกส่งออกไปบนถนนตอนกลางคืนเพื่อที่จะชักชวนให้นักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมสถานเลี้ยงเด็ก ความเสี่ยงต่อการทารุณกรรมทางเพศ – เมื่อนักท่องเที่ยวหรืออาสามัครไม่ได้ผ่านการตรวจสอบประวัติและมีการปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยขาดการดูแล ย่อมทำให้เด็กๆอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการทารุณกรรมมากขึ้น ยังมีอีกหลายกลุ่มที่บ่งบอกสถานการณ์แย่แบบนี้ของเด็กๆ กลุ่มรณรงค์ต่างๆ …

Read more
November 6, 2013

นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการให้มีการพัฒนาในด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จากผลการศึกษาวิจัยฉบับล่าสุดของโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มโดยรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งดำเนินการโดยศุภนิมิตร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย พบเห็นว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเข้ามาช่วยคุ้มครองเด็กจากการแสวงประโยชน์ให้มากขึ้น  เมื่อปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 36 ล้านคนมาเที่ยวในประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย และเวียดนาม หลายคนต้องเจอสถานการณ์ที่เด็กมีความเปราะบาง ผลงานวิจัยที่สำคัญของงานวิจัย “การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก” ที่เราได้นำเสนอวันนี้ซึ่งตรงกับวัน “วันท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อโลก” ที่ได้สำรวจนักท่องเที่ยวจำนวน 270 คนจาก 39 ประเทศทั่วโลก จากผลสำรวจ 95% ของนักท่องเที่ยวที่สัมภาษณ์ได้พบปะกับเด็กท้องถิ่นและหลายคนรู้สึกว่าการที่ได้พูดคุยกับเด็กๆเหล่านี้ทำให้พวกเขารู้สึกเสียใจ ผิด เป็นห่วงและโกรธ  มีการรณรงค์เพิ่มสูงขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงของเด็กที่ขอทานหรือเร่ขายของในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไปสถานลี้ยงเด็กกำพร้า หรือ “การท่องเที่ยวเพื่อบำเพ็ญประโยชน์” “ อาร์ติ คาปูร์ ผู้จัดการโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยศุภนิมิตกล่าว จำนวนสามในสี่ของนักท่องเที่ยวที่ถูกสัมภาษณ์รับทราบว่ามีเด็กที่ได้รับการทารุณกรรมหรือแสวงประโยชน์ในภาคธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต้องการที่จะช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จากผลงานวิจัย นักท่องเที่ยวหลายคนสับสนไม่ทราบว่าจะปฎิบัติอย่างไรที่พวกเขาจะสามารถช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้และต้องการทราบข้อมูลมากขึ้น “ในขณะที่ภาคเอเชียมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงที่สุดทั่วโลก ในช่วงยี่สิบปีข้างหน้านั้นมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก “อาฟรูซ คาเวียนิ จอห์นสัน ผู้อำนวยการด้านวิชาการ โครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย ศุภนิมิต กล่าวว่า …

Read more
September 2, 2013

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ: ภาพรวมสถิติการทารุณกรรมเด็กในทวีปเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

โพสต์โดย- คุณ อะมะลี แมคคอยเจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษด้านการคุ้มครองเด็กระดับภูมิภาคจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติสำนักงานเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก การทารุณกรรม การทอดทิ้ง ความรุนแรง และแสวงประโยชน์จากเด็กนั้นแพร่กระจายมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ผลกระทบต่อเด็กสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ส่งผลในระยะยาวและเสียหานมากมาย จากงานวิจัยขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติที่ได้ถูกเผยแพร่ในปี 2555 การปฏิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก: การแพร่หลาย สถานการณ์และผลกระทบในทวีปเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้ยืนยันแนวโน้มการทารุณกรรมเด็กในรูปแบบที่กล่าวมา งานวิจัยยังได้รวบรวมข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา 364 กรณีที่ได้ถูกตรวจสอบโดยระบบที่ทันสมัยและถูกตีพิมพ์ระหว่างปี 2543-2553 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก: การแพร่หลาย สถานการณ์และผลกระทบจากการปฎิบัติที่ไม่ดีต่อเด็กในภูมิภาคนี้  การศึกษาอย่างเป็นระบบนี้ได้เปิดเผยกรณีศึกษาเชิงคุณภาพหลายกรณีเกี่ยวกับการแพร่หลายและเหตุการณ์ที่เด็กได้ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย ทางเพศและทางจิตใจ ข้อมูลสถิติหลายตัวน่าเป็นห่วงซึ่งรวมถึงสิ่งต่อไปนี้: การแพร่หลายของการทารุณกรรมทางร่างกายอย่างรุนแรงเกิดขึ้นกับเด็ก 9% และเกือบจะ 1 ใน 4 คนของเด็กทั้งหมดในภูมิภาคนี้ ระหว่าง 14% ถึง 30% ของเด็กชายหญิงรายงานว่าเคยถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เคยถูกทารุณกรรมทางเพศหรือทางร่างกายในวัยเด็กมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ 4 เท่าในการคิดหรือพยายามที่จะฆ่าตัวตาย เปรียบเที่ยบกับคนอื่นๆ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีข้อมูลกรณีศึกษาเกี่ยวกับการแพร่หลายและกรณีของการค้าเด็กเพื่อการแสวงประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามได้มีกรณีศึกษาจำนวนหนึ่งที่ได้ถูกเปิดเผยตัวเลขและสภาพความเป็นอยู่ของเด็กที่ค้าประเวณี ตัวอย่างเช่น:  ในประเทศเวียดนาม: ในปี 2553 กรณีศึกษาขององกรทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและกระทรวงช่วยเหลือคนพิการและกิจการสังคมได้ค้นพบว่าประมาน 15% ของผู้ค้าประเวณีหญิงเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี  ในประเทศไทย:ในปี …

Read more
August 5, 2013

ผู้นำภาคธุรกิจท่องเที่ยวร่วมมือกันในงานท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กระดับภูมิภาคครั้งที่หนึ่ง

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 31 กรกฎาคม 2556  “การปกป้องเด็กเป็นหน้าที่ของทุกคน” นี่คือสิ่งที่ได้แบ่งปันกับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ปฎิบัติงาน และผู้จัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้เข้าร่วมการอบรมที่โรงแรม Aloft ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2556 การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดยโครงการสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มโดยรัฐบาลประเทศออสเตรเลียและดำเนินงานโดยศุภนิมิต โดยดำเนินงานที่จะป้องกันการแสวงประโยชน์ทางเพศเด็กในประเทศกัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนาม โดย SKAL International และ PATA ประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุนงานนี้  ผู้เข้าร่วมอบรมจากสถานประกอบการทั่วประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆในการคุ้มครองเด็กในปัจจุบันและได้หารือกันถึงวิธีการที่จะช่วยเหลือเด็กๆในท้องถิ่นให้ปลอดภัยจากการทารุณกรรมและแสวงประโยชน์ ผู้เข้าร่วมอบรมได้ถูกท้าทายให้ช่วยกันค้นหาปัจจัยต่างๆที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวที่สามารถนำไปสู่การทารุณกรรมเด็กได้ และพิจารณาบทบาทของภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆแก่เด็ก  วิทยากรท่านหนึ่ง มร. วิลเล็ม นิลไมเยอร์ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Khiri Travel ได้กล่าวว่า “การเข้าไปเกี่ยวพันกับชุมชนซึ่งการท่องเที่ยวได้นำความร่ำรวยทางด้านรายได้ไปให้” เด็กๆจากครอบครัวที่ยากจนจะสามารถเจอได้ไนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ พยายามที่จะขอทาน ขายดอกไม้ และของชำร่วย ถ้ามอบโอกาสสำหรับผู้ปกครองเด็กและชุมชน พวกเราก็สามารถป้องกันเด็กๆไม่ให้ออกมาขายของบนท้องถนนและยังลดความเสี่ยงของเด็กสู่การทารุณกรรม คุณนิลไมเยอร์ยังกล่าวว่าเขาสนับสนุนการใช้ภาษาที่เหมาะสมในการแยกนักท่องเที่ยวและผู้ทารุณกรรม “เราไม่ควรรวมคำว่า “การท่องเที่ยว” เข้ากับคำว่า “อาชญากรรม” ผู้ที่กระทำทารุณกรรมเด็กไม่ได้เป็น “นักท่องเที่ยว” เพื่อมุ่งเน้นการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กแต่ว่าพวกเขาเป็น ”ผู้ทารุณกรรม” ทางเพศเด็ก …

Read more
April 11, 2013

ความมุ่งมั่นของ Intrepid Travel ที่จะปกป้องเด็กให้ปลอดภัยในภาคธุรกิจท่องเที่ยว

การช่วยเหลือเด็กๆให้ปลอดภัยจากการแสวงประโยชน์เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของ Intrepid Travel ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทด้านการท่องเที่ยวผจญภัยทั่วโลก ได้เริ่มดำเนินการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2532 บริษัทนี้ดำเนินงานอยู่ใน 120 ประเทศทั่วโลกและได้พานักท่องเที่ยวราว 100,000 คนต่อปีไปท่องเที่ยวยังที่ต่างๆ ทีมงานของนักเดินทางที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก หรือ Child Safe Tourism (CST) ได้พูดคุยกับผู้จัดการของ Intrepid คุณ เจน คราวช์ เพื่อที่จะหาว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การป้องกันเด็กเป็นเรื่องที่ Intrepid ใช้ในการดำเนินงาน  CST: Intrepid เข้ามาทำงานเชิงรุกในเรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็กได้อย่างไร JC: ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการดำเนินงานของบริษัท เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าทีม (ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 300 คนในทวีปเอเชีย) ได้มองเห็นความเสี่ยงของเด็กๆในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และได้พบเห็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงอย่างมากของบรรดานักท่องเที่ยวทั้งหลาย บางรายก็แสวงประโยชน์จากเด็ก พวกเขาสังเกตเห็นเด็กๆทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปราะบางอย่างเช่นเด็กที่ ขายดอกไม้ โปสการ์ด และเครื่องประดับในประเทศเวียดนาม  ขอทานบนท้องถนนในประเทศลาว ทำงานในสถานบันเทิงกลางคืนหรือตามสถานที่ๆมีชื่อสียงการค้าประเวณีในประเทศไทย แสดงในโชว์ต่างๆสำหรับนักท่องเที่ยวในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ประเทศกัมพูชา หลังจากที่เจ้าหน้าที่ Intrepid ใด้คุ้นเคยและเป็นเพื่อนกับเด็กๆท้องถิ่นเหล่านี้ พวกเขาก็เริ่มที่จะเข้าใจปัญหาของเด็กๆมากขึ้น พวกเขากระตือรือร้นที่จะช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นสำหรับเด็กๆ – เพื่อที่จะให้เด็กๆท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว แทนที่จะคงสภาพที่เลวร้ายของพวกเขาต่อไป ท้ายที่สุดแล้วการท่องเที่ยวควรที่จะให้ประโยชน์ทั้งแก่นักท่องเที่ยวและชุมชนต่างๆที่บริการ ความปลอดภัยและอนาคตของเด็กถือเป็นสิ่งสำคัญในความสัมพันธ์นี้  CST: Intrepid สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรที่ป้องกันเด็กในภูมิภาคนี้อย่างไร  …

Read more
January 23, 2013

ธุรกิจและการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก – การเริ่ม การปฏิบัติการแหล่งข้อมูลอุตสาหกรรม

วันนี้เรามีความยินดีที่จะประกาศการเริ่มการปฏิบัติการของ ภาคส่วนอุตสาหกรรมของ childsafetourism.org ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของกิจการคนเดียว ธุรกิจขนาดเล็กหรือบริษัทใหญ่ เรามีขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กที่มีความเปราะบาง ในการท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้นและยังดึงดูดลูกค้าที่มีคุณภาพห่วงใยสถานที่ต่างๆ ที่พวกเขาไปเยี่ยมชม ภาคส่วนอุตสาหกรรมจะให้ข้อมูลวิธีปฏิบัติง่ายๆและประหยัด ที่สามารถทำได้ในธุรกิจของคุณ การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็กจะทำให้ธุรกิจมีความเหมาะสม ลูกค้า นักลงทุนและพันธมิตรพอใจกับธุรกิจที่มีความรับผิดชอบที่ดูแลเด็กให้ปลอดภัยจากการล่วงละเมิด งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า 57% ของนักเดินทางที่เดินทางมายังภูมิภาคนี้ (กัมพูชา สปป. ลาว ไทย หรือเวียดนาม) พบเห็นบางอย่างที่ทำให้เขาคิดว่าเด็กมีความเสี่ยงต่อการล่วงละเมิด 85% ของนักเดินทางต้องการข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีปกป้องคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ 95% บอกว่าธุรกิจที่มีนโยบายปกป้องคุ้มครองเด็กจะมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อลักษณะวิสัยการซื้อของพวกเขา เห็นได้ชัดว่าประสบการณ์ของนักเดินทาง (ได้แก่ ประสบการณ์เชิงลบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้การล่วงละเมิดเด็ก) ส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะต่อภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว และยิ่งกว่านั้นคืออัตราการเดินทางมาเที่ยวของนักท่องเที่ยว นักเดินทางและนักท่องเที่ยวต้องการสนับสนุนธุรกิจที่ดำเนินงานภายใต้นโยบายเด็กปลอดภัยที่มีการพัฒนาและตรวจสอบมาเป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นด้วยการเป็นผู้นำในการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก เข้าไปดู ภาคส่วนอุตสาหกรรมและเริ่มการปฏิบัติการในวันนี้เลย

Read more
January 11, 2013

สำนักงานท่องเที่ยวโลกเเห่งสหประชาชาติ: เเนวทางการปฏิบัตสู่การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

ความเห็นจากผู้เข้าเยี่ยม – Marina Diotallevi, ผู้จัดการโปรแกรม มิติทางจริยธรรมและสังคมของการท่องเที่ยว องค์การการท่องเที่ยวโลก มีนักท่องเที่ยวกว่า 1,000 ล้านคนที่เดินทางระหว่างประเทศตลอดปี 2555 จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจโลก ที่กำลังผลักดันการเติบโตและส่งเสริมความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมไปทั่วโลก อย่างไรก็ดี มักมีการนำโครงสร้างพื้นฐานของการท่องเที่ยวไปใช้ในทางที่ผิดซึ่งมีจุดจบที่เลวร้าย เช่น การล่วงละเมิดเด็ก เราต้องไม่ลืมว่าการท่องเที่ยวก็มีศักยภาพในการเรียกคืนโครงสร้างขั้นพื้นฐานเดียวกันนี้และนำมาใช้ในการต่อสู้กับการแสวงหาประโยชน์ในเด็กทุกรูปแบบ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องรับทราบว่าการระบุการแสวงหาประโยชน์นั้นจะกระทำได้ด้วยวิธีการของผู้ได้รับผลประโยชน์หลายฝ่ายเท่านั้น องค์การการท่องเที่ยวโลก องค์การชำนาญพิเศษเฉพาะเรื่องของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกระตุ้นให้เกิดปฏิบัติการร่วมในเรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็ก เราสนับสนุนการเป็นพันธมิตรระหว่างประชาชนกับภาคเอกชน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีประชากรที่เดินทางท่องเที่ยวและประเทศจุดหมายปลายทาง และรักษาสัมพันธภาพที่เอื้อประโยชน์ระหว่างอุตสาหกรรมและภาคประชาสังคม องค์การการท่องเที่ยวโลก เริ่มรณรงค์สร้างจิตสำนึกในระดับนานาชาติในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้การล่วงละเมิดเด็กมีโอกาสเดินทาง” ในปี พ.ศ. 2551 โดยความร่วมมือกับพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน ด้วยเจตนารมณ์เดียวกันนี้ องค์การการท่องเที่ยวโลกได้ประสานงานกับเครือข่ายการท่องเที่ยวโลก (เดิมคือคณะทำงานเพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็กในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) ในการปกป้องคุ้มครองเด็กมานานกว่าทศวรรษ เพื่อกระตุ้นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความตระหนักและช่วยป้องกันและรายงานการล่วงละเมิดเด็กในสิ่งแวดล้อมของธุรกิจท่องเที่ยว (การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์) ตัวอย่างเช่น ด้วยการวางมาตรฐานการปกป้องคุ้มครองเด็ก การสร้างศักยภาพและจิตสำนึกถึงความเสี่ยงของการแสวงหาประโยชน์เด็กจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เครือข่ายดำเนินงานภายใต้แผนงานตามนโยบายหลักขององค์การการท่องเที่ยวโลก หลักจรรยาบรรณการท่องเที่ยวโลก และแผนที่เส้นทางเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบ เครือข่ายประกาศอย่างชัดเจนว่า “การแสวงประโยชน์จากมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการแสวงหาประโยชน์จากเด็ก ขัดแย้งกับจุดประสงค์ขั้นพื้นฐานของการท่องเที่ยวและยังเป็นผลลบต่อการท่องเที่ยว” (มาตรา 2.3) ด้วยหลักการนี้ เครือข่ายได้ร่วมมืออย่างเกิดผลกับรัฐบาล องค์กรเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สื่อสารมวลชนและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อทำงานขจัดการแสวงหาประโยชน์เยาวชนในธุรกิจท่องเที่ยว …

Read more
November 6, 2012

นักเดินทางภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย – 7 พฤศจิกายน 2555 นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังหรือที่อยู่ภายในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ กัมพูชา สปป.ลาว ไทยและเวียดนาม ต้องการความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก อ้างอิงจากรายงานของโครงการเด็กปฐมวัย – เสาหลักการป้องกัน ความริเริ่มการช่วยเหลือของออสเตรเลียดำเนินงานโดยองค์กรศุภนิมิต รายงานเรื่อง “ธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก: มุมมองของนักท่องเที่ยว” ที่เผยแพร่ในวันนี้เพื่อให้ประจวบกับการฉลองวันท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบโลกได้นำเสนอผลจากการสำรวจนักเดินทางบนอินเตอร์เน็ตที่สอบถามผู้ที่มาท่องเที่ยวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเร็วๆนี้ โดยแบ่งปันประสบการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กและการรับรู้เรื่องธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก ผู้เข้าร่วมการสำรวจมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมด้วยตนเอง 300 คน จาก 37 ประเทศ (ร้อยละ 57%) บอกว่าเคยพบเห็นสถานการณ์ที่รู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์หรือการล่วงละเมิดเด็กในระหว่างที่เดินทางไปในภูมิภาค ส่วนร้อยละ 85% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจระบุว่าต้องการทราบมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีปกป้องคุ้มครองเด็กและป้องกันการแสวงหาประโยชน์ในระหว่างการเดินทาง “ในขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างเป็นทวีคูณในรอบสิบปีที่ผ่านมาให้ผลประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้อย่างเห็นได้ชัดเจน แต่มันก็ได้สร้างปัจจัยดึงดูดที่ผลักดันให้เด็กๆ และครอบครัวละทิ้งสภาพความเป็นอยู่ดั้งเดิม เพื่อออกไปหารายได้ในสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการแสวงหาประโยชน์และการล่วงละเมิด” อาร์ติ คาปูร์กล่าว ผู้จัดการโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัย – องค์กรศุภนิมิต แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตระหนักต่อสถานการณ์การแสวงหาประโยชน์จากเด็กในสถานที่แหล่งท่องเที่ยวก็ตาม ผลการสำรวจยังระบุว่าส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเองไม่รู้วิธีการที่จะทำให้เด็กปลอดภัย จากประสบการณ์การเดินทางของเขาเหล่านั้น นักท่องเที่ยวจำนวนมากยังแสดงความเป็นห่วงอย่างมากต่อเด็กที่มีความเปราะบาง และยืนยันว่าธุรกิจที่มีนโยบายด้านธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็กจะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อการเลือกใช้บริการของลูกค้าในวันหยุดพักผ่อน จากการศึกษา นักท่องเที่ยวต้องการและจำเป็นจะต้องมีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทำให้เด็กปลอดภัยและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็กคืออะไร ข้อค้นพบสำคัญอื่น ยังเปิดเผยว่าโดยทั่วไปแล้ว นักท่องเที่ยวเป็นห่วงเรื่องความเป็นอยู่ของเด็กในภูมิภาคและได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญจากสิ่งที่พบเห็น – ทั้งในด้านบวกและด้านลบ – กับเด็กในประเทศต่างๆที่ไปท่องเที่ยวมา  จากการเป็นพันธมิตรกับองค์กรการท่องเที่ยวแห่งชาติและภาคธุรกิจท่องเที่ยวโครงการเสาหลักป้องกันเด็กปฐมวัยกำลังสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อเด็กผ่านการรณรงค์  “ธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก” …

Read more
August 17, 2012

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ยกระดับความพยายามในการปกป้องคุ้มครองเด็กในธุรกิจท่องเที่ยว

17 สิงหาคม 2555 ในวันนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาและศุภนิมิตกัมพูชาประกาศ ยกระดับความพยายามในการปกป้องคุ้มครองเด็กในธุรกิจท่องเที่ยวผ่านความริเริ่มขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศออสเตรเลีย (AusAid) โครงการเด็กปฐมวัย โครงการเด็กปฐมวัยนำองค์กรศุภนิมิต สำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด (UNODC)  และองค์การตำรวจสากล (INTERPOL) มาร่วมกันแก้ไขปัญหาสำคัญของการแสวงประโยชน์เด็กในธุรกิจท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วยกันระหว่างแนวทางการป้องกัน และการปกป้องคุ้มครอง องค์กรศุภนิมิตทำงานเป็นพันธมิตรกับกระทรวงการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวได้เริ่มจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก การแต่งตั้งให้องค์กรเวิร์ดวิชันเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในโครงการเสาหลักการป้องกันเด็กปฐมวัยเป็นการต่อยอดการเป็นพันธมิตรที่ยาวนานกับกระทรวงการท่องเที่ยวและผลงานอันเป็นที่รับทราบในการปกป้องคุ้มครองเด็กขององค์กรศุภนิมิต หลายปีที่ผ่านมานี้  กัมพูชากลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศจำนวน 2.8 ล้านคนใน พ.ศ. 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จาก พ.ศ. 2553 “เราทราบว่าแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดเด็กและครอบครัวที่มีความเปราะบางเข้ามาหารายได้”นาย พัง แชนดา – ผู้ประสานงานประเทศ โครงการเสาหลักการป้องกันเด็กปฐมวัย กล่าว “ในขณะที่การท่องเที่ยวเติบโตขึ้น เราจะต้องมีการป้องกันจัดตั้งไว้ เพื่อรับรองว่าเด็กๆ จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิดทุกรูปแบบ เราไม่เพียงต้องการให้ธุรกิจท่องเที่ยวปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อวัฒนธรรม มรดกและชุมชนของกัมพูชาเท่านั้น เรายังต้องการให้ธุรกิจท่องเที่ยวปลอดภัยต่อเด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กที่มีความเปราะบางมากที่สุด” องค์กรศุภนิมิตยกย่องความเป็นผู้นำของกระทรวงการท่องเที่ยวในการทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวปลอดภัยต่อเด็ก การเป็นพันธมิตรกับกระทรวงการท่องเที่ยว องค์กรศุภนิมิตจะทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความตระหนักในความเปราะบางต่อความเสี่ยงของเด็กและสนับสนุนวิธีปฏิบัติทางการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งให้ความสำคัญต่อการปกป้องคุ้มครองเด็ก ทั้งนี้ จะเริ่มต้นด้วยการอบรมคณะกรรมการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็กเป็นเวลา 2 วัน …

Read more
September 27, 2011

นักท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการแสวงหาประโยชน์จากเด็ก

บางกอกโพสต์ ประเทศไทย – 27 กันยายน 2554 นักเดินทางและคนต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยรู้จักดีกับสถานการณ์ความยากจนของเด็ก เด็กหญิงอายุ 6 ขวบปากทาลิปสติคสีแดงชาด นั่งเรียบร้อยอยู่บนเสื่อกับผู้หญิง ขอเงินจากผู้ที่เดินผ่านไปมา เด็กชายอายุ 12 ปี ขายหมากฝรั่งตอนเวลา 5 ทุ่มในบริเวณสถานบันเทิงของผู้ใหญ่ เขาส่งยิ้มทะลึ่งและพูดจาสำบัดสำนวนกับคุณ ในช่วงเวลาที่น่าอึดอัดใจนี้คุณรู้สึกอยากจะช่วย ไม่ว่าจะด้วยความสงสารหรืออึดอัดใจก็ตาม สิ่งนี้บอกคุณว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง คุณอาจตัดสินใจยื่นเงินให้ไป ไม่ว่าคุณจะทำอย่างไรก็ตาม คุณจะอยู่กับความรู้สึกที่ไม่สบายใจที่คุณไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยเหลือชีวิตที่น่าสงสารของเด็กเลย คราวนี้ลองมองในอีกมุมหนึ่ง ถ้าหากคนต่อไปที่เด็กๆ  เข้าไปหาต้องการบางอย่างเป็นการตอบแทนกับเงิน 50 บาทที่ให้เด็กไป มันจะเป็นอย่างไร ในโอกาสวันท่องเที่ยวโลก ขอเรียกร้องให้คุณคิดสักนิดว่าการท่องเที่ยวมีความหมายอย่างไรกับเด็กๆ ของเราและเราจะดูแลให้เขาปลอดภัยได้อย่างไร  อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยยังคงเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำลง ใน พ.ศ. 2553 มีนักท่องเที่ยว 16 ล้านคนเดินทางมายังดินแดนแห่งรอยยิ้มและองค์การการท่องเที่ยววางเป้าหมายนักท่องเที่ยวไว้ที่ 19.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 เพื่อให้ได้รายได้ 1.2 พันล้านบาทจากธุรกิจท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ เห็นได้ชัดว่าการท่องเที่ยวยังคงเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศ และจะต้องมีการจัดการอย่างระมัดระวังกับผลกระทบในทางสังคมและต่อเด็กๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกำลังเฟื่องฟู  โอกาสการแสวงหาประโยชน์จากเด็กก็มีมากขึ้นหากขาดการตรวจสอบ รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานทางกฎหมายระหว่างประเทศในการตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดทางเพศกับเด็กที่เป็นที่รู้จัก ประเทศไทยได้เดินหน้าและมีความก้าวหน้าในเรื่องการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กตลอดทศวรรษที่ผ่านมา …

Read more
September 26, 2011

วันท่องเที่ยวโลก: “ช่วยกันปกป้องคุ้มครองเด็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ”

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย – 26 กันยายน 2554 ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเฟื่องฟูด้วยตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จำเป็นจะต้องมีการปกป้องคุ้มครองเด็กที่มีความเปราะบางจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศของนักเดินทาง คำกล่าวเตือนจากองค์การศุภนิมิต- องค์กรให้ความช่วยเหลือนานาชาติ คำเตือนที่เผยแพร่เนื่องในวันการท่องเที่ยวโลก (วันอังคารที่ 27 กันยายน) ออกมาพร้อมกับตัวเลขผู้เดินทางเข้าประเทศล่าสุดของประเทศไทยที่มีอัตราเติบโตต่อปีร้อยละ 26 (11.17 ล้านคน) ในช่วงหกเดือนแรกของปี พ.ศ. 2554 แม้กระทั่งประเทศที่ห่างไกลจากอันดับเช่นประเทศลาวยังมีผู้ไปเยือนปีที่แล้วถึง 2.5 ล้านคน ในอันดับที่ใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชา  ในขณะที่เวียดนามมีผู้มาเยือนถึง 5 ล้านคน องค์การศุภนิมิตกล่าวว่าแม้จะมีการเติบโตของตัวเลขนักท่องเที่ยวและความเสี่ยงต่อเด็กที่เป็นผลตามมาก็ตาม เรายังเชื่อว่านักท่องเที่ยวที่รับผิดชอบจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาได้ องค์กรกำลังรับสมัครนักท่องเที่ยวที่ระมัดระวังความปลอดภัยและมองหาการปกป้องคุ้มครองเด็กในระหว่างเดินทางในภูมิภาค และจะขอให้อุตสาหกรรมการเดินทางและผู้ประกอบการท่องเที่ยวมีบทบาทในการสร้างสิ่งแวดล้อม “ธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก” เป้าหมายก็เพื่อทำให้ระบบนิเวศของธุรกิจท่องเที่ยวทั้งหลายมีความปลอดภัยมากขึ้นต่อเด็กที่มีความเปราะบางในประเทศที่เป็นเจ้าบ้าน รัฐบาลในลุ่มน้ำโขงได้ทำพันธสัญญาสำคัญที่จะยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกุมผู้กระทำความผิดที่เป็นชาวต่างชาติ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง องค์การศุภนิมิตเชื่อว่าแนวทาง “ธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็ก” จะส่งเสริมเป้าหมายของรัฐบาลในลุ่มน้ำโขงที่ยินดีต้อนรับผู้มาเยือนประเทศ และรับรองความปลอดภัยของเด็กไปพร้อมๆ กัน ผู้จัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่ปลอดภัยต่อเด็กของเวิร์ดวิชัน อาร์ติ คาพูร์ กล่าวว่า “ขอขอบคุณนโยบายสีเขียวที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีความตระหนักมากขึ้นถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวมีความรับผิดชอบในการปกป้องคุ้มครองเด็ก เราจำเป็นจะต้องมีวิธีการเดียวกัน นักท่องเที่ยวจะต้องระมัดระวังต่อการปฏิบัติที่อาจทำให้เด็กตกอยู่ในความเสี่ยงโดยไม่เจตนา และต้องมั่นใจว่าธุรกิจท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับเด็ก” อย่างไรก็ดี เธอเสริมว่าประเด็นปัญหาค่อนข้างจะซับซ้อนและภาคส่วนต่างๆ จะต้องทำงานร่วมกัน เวิร์ดวิชันทำงานกับหน่วยงานต่างๆ และสื่อและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริม …

Read more

Latest Tweets