องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ: ภาพรวมสถิติการทารุณกรรมเด็กในทวีปเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
โพสต์โดย- คุณ อะมะลี แมคคอยเจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษด้านการคุ้มครองเด็กระดับภูมิภาคจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติสำนักงานเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
การทารุณกรรม การทอดทิ้ง ความรุนแรง และแสวงประโยชน์จากเด็กนั้นแพร่กระจายมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง
ผลกระทบต่อเด็กสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ส่งผลในระยะยาวและเสียหานมากมาย จากงานวิจัยขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติที่ได้ถูกเผยแพร่ในปี 2555 การปฏิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก: การแพร่หลาย สถานการณ์และผลกระทบในทวีปเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้ยืนยันแนวโน้มการทารุณกรรมเด็กในรูปแบบที่กล่าวมา งานวิจัยยังได้รวบรวมข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา 364 กรณีที่ได้ถูกตรวจสอบโดยระบบที่ทันสมัยและถูกตีพิมพ์ระหว่างปี 2543-2553 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก: การแพร่หลาย สถานการณ์และผลกระทบจากการปฎิบัติที่ไม่ดีต่อเด็กในภูมิภาคนี้
การศึกษาอย่างเป็นระบบนี้ได้เปิดเผยกรณีศึกษาเชิงคุณภาพหลายกรณีเกี่ยวกับการแพร่หลายและเหตุการณ์ที่เด็กได้ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย ทางเพศและทางจิตใจ ข้อมูลสถิติหลายตัวน่าเป็นห่วงซึ่งรวมถึงสิ่งต่อไปนี้:
- การแพร่หลายของการทารุณกรรมทางร่างกายอย่างรุนแรงเกิดขึ้นกับเด็ก 9% และเกือบจะ 1 ใน 4 คนของเด็กทั้งหมดในภูมิภาคนี้
- ระหว่าง 14% ถึง 30% ของเด็กชายหญิงรายงานว่าเคยถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
- วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เคยถูกทารุณกรรมทางเพศหรือทางร่างกายในวัยเด็กมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ 4 เท่าในการคิดหรือพยายามที่จะฆ่าตัวตาย เปรียบเที่ยบกับคนอื่นๆ
แต่น่าเสียดายที่ไม่มีข้อมูลกรณีศึกษาเกี่ยวกับการแพร่หลายและกรณีของการค้าเด็กเพื่อการแสวงประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามได้มีกรณีศึกษาจำนวนหนึ่งที่ได้ถูกเปิดเผยตัวเลขและสภาพความเป็นอยู่ของเด็กที่ค้าประเวณี ตัวอย่างเช่น:
- ในประเทศเวียดนาม: ในปี 2553 กรณีศึกษาขององกรทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและกระทรวงช่วยเหลือคนพิการและกิจการสังคมได้ค้นพบว่าประมาน 15% ของผู้ค้าประเวณีหญิงเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
- ในประเทศไทย:ในปี 2548 กรณีศึกษาโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศพบว่า 19.8% ของเด็กและหญิงสาวที่ค้าประเวณีรายงานว่าเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของพวกเธอเป็นการถูกข่มขืน
- ในประเทศกัมพูชา: ในปี 2552 กรณีศึกษาโดยมูลนิธิเอ็กแผดอินเตอร์เนชั่นแนลประเทศกัมพูชาค้นพบจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ พบว่า 37% ของเหยื่อค้ามนุษย์เพื่อการแสวงประโยชน์ทางเพศเป็นเด็ก
ในการมองถึงผลกระทบของการปฏิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก ระบบตรวจสอบค้นพบว่าเด็กและเยาวชนที่เคยถูกทารุณกรรมและแสวงประโยชน์ทางเพศมักจะมีสภาพจิตใจและร่างกายที่ไม่ดี การบังคับการมีเพศสัมพันธ์ทีไม่ปลอดภัย โอกาสที่จะมีบาดแผลทางร่างกายที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเด็กเกินไป หรือการเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลก็ดีจะส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพและการพัฒนาต่อเด็กๆเหล่านี้ การศึกษายังพบปัญหาด้านจิตใจอีกพอสมควร ตัวอย่างเช่นมีภาวะซึมเศร้าสูง ความอับอาย และความคิดหรือการพยายามฆ่าตัวตาย เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาทางด้านการเรียนบ่อยและมีโอกาสจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการก่อความรุนแรงสูงกว่าเมื่อโตขึ้น
การค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการที่รัฐบาล องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาและสภานศึกษาจะต้องร่วมกันผลักดันนโยบาย และประสานงานร่วมกันในการทำให้ระบบการป้องกันเด็กเข้มแข็งขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ความพยายามทั้งภูมิภาคจะต้องขับเคลื่อนไปสู่การมีนโยบายที่เป็นหลักฐานและโครงการที่จะป้องกันการปฎิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก อย่างเช่นการแสวงประโยชน์ทางเพศเด็ก แทนที่จะเป็นการตอบสนองเพียงรายกรณีเท่านั้น เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วกรณีที่เกิดขึ้นทั้งการทารุณกรรมเด็ก การทอดทิ้ง ความรุนแรงและแสวงประโยชน์จากเด็กจะไม่ถูกรายงาน และผลกระทบก็ค่อนข้างที่จะส่งผลลบพอสมควร มันจึงมีความจำเป็นที่พวกเราจะต้องประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อที่จะป้องกันการปฎิบัติที่ไม่ดีต่อเด็กก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น
ท่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้จาก รายงานการปฏิบัติที่ไม่ดีต่อเด็ก ขององค์การทุนเพื่อเด็ก
แห่งสหประชาชาติ(ฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้น)